วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Design Culture

ชุดประกวดนางงาม จากการdesingลายไทย
แทบไม่น่าเชื่อว่าเวปบล๊อกไร้สาระแห่งนี้ไม่เคยเขียนถึงเรื่องการประกวดชุดประจำชาติ
ของนางงามที่จะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปประกวดนางงามจักรยาน….เอ้ย ขอโทษครับ
นางงามจักรวาล…..หรือที่เรียกแบบอินเทอร์ว่า…..มิส ยูนิเวิร์สส(กรุณาใส่สำเนียงเวลาอ่านเพื่อความไพเราะ) เลย…
ดูมาก็หลายปีแล้วกับโครงการประกวดชุดประจำชาติที่จะใช้ประกวดนางงามจักรวาล
และปีนี้ผู้ที่ได้รางวัลอันทรงเกียรตินี้คือคุณ พลิน อภิญญากุล กับแนวการออกแบบที่ใช้ชื่อว่า
“สยาม ไอยรา”
มีคนถามว่าผมรู้สึกอย่างไรกับงานชิ้นนี้บ้าง….
ผมชอบคอนเซปเรื่อง” ช้าง” ครับ
ส่วนเรื่องรูปแบบชุดหล่ะ….
ก็ดูโก้ดี…แต่ น่าจะออกมาให้เหมือนหรือใกล้เคียงภาพที่นักออกแบบวาดไว้มากที่สุด
เพราะอะไร…..
ขอพูดเรื่องสีชุดก่อนละกัน
โดยเฉพาะสีชุดที่ออกแบบไว้เป็นสีเทาเหมือนสีผิวของช้าง และมีลวดลายไทยในนั้น
ตัดกับสีผ้าแต่ง สีแดงเลือดนกแลดูโก้มาก
ถ้าออกมาได้อย่างภาพฝันจริง ผมว่าจะดูสวย ทันสมัยมาก….
แต่น่าเสียดาย ที่เปลี่ยนสีไปตามวัสดุที่ใช้จริง
ซึ่งก็คือเรื่องผ้า คราวนี้เป็น ” ผ้าโขมพัสตร์” อีกแล้วครับท่าน….โอ้ววว
ที่ว่าอีกแล้วเพราะใช้มาอย่างต่อเนื่องในช่วง 3ปีให้หลัง …
แรกๆก็ว่าดีที่เอาผ้าโขมพัสตร์กลับมาใช้ เพราะถึงจะเป็นผ้าฝ้าย พิมพ์ทอง มีเชิงผ้า
ที่มีลวดลายเอกลักษณ์สวยงาม แต่ถ้าใช้เกือบทุกปีแบบนี้ก็ไม่ไหวนะครับ
“มันเลี่ยน” …ขอร้องเถอะครับ อย่าอ้างว่า เวลาไม่พอ หรือต้นทุนการผลิตสูง!!!
นี่ชุดประจำชาติที่จะไปอวดคนทั้งโลกนะครับท่าน…
ผ้าไทยมีสวยๆอีกตั้งเยอะน่าจะเลือกหยิบมาใช้บ้างก็ดี…ผมว่านะ
ส่วนเรื่องตัวชุด
ดูจากชุดจริงตัวชุดท่อนบนที่เป็นแขนหมูแฮม( Leg-of-Mutton Sleeves)
( แบบเสื้อที่นิยมในราชสำนักสมัยช่วงปลายรัชกาลที่5) แต่มีข้างเดียวซึ่งก็ดูเก๋ไปอีกแบบ…
ช่วงล่างถ้าดูจากภาพอ้างอิงว่าเป็น “โจงกระเบน” ชาวบ้าน
แบบในภาพจิตรกรรมฝาผนัง …
แต่ชุดที่ออกแบบมากับที่เห็นชุดจริงมันไม่ใช่นี่ครับ
ที่เห็นมันเป็นชิ้นสำเร็จรูปที่เอารูปแบบมาจากการนุ่งผ้า 2 ชั้น
ชั้นแรกหรือที่เห็นเป็นขากางเกงออกมานั่นเรียกว่า “สนับเพลา
แล้วนุ่งผ้าจับหยักรั้ง ทับสนับเพลา อีกที การนุ่งแบบนี้จะมีให้เห็นในราชสำนักสมัยโบราณเป็นส่วนใหญ่
หรือในการแสดง มโหรสพ ทั่วไป ….
ส่วนของเตรื่องประดับตั้งแต่ศรีษะ ลงมาถึงเท้า ก็ดูเข้าทีดีนะผมว่า
ถึงแม้จะดูเป็นละครไปหน่อย(อันนี้ดูจากชุดจริงนะ)
การเพิ่มสังวาล ปิดช่วงเอวที่เปลือยเปล่าให้ไม่ดูเรียบง่ายจนเกินไป เข้าท่าดี
ถุงน่อง รองเท้าดูเป็นไปตามภาพเสก็ตที่สุด แต่…..
พอเปลี่ยนสีชุดทั้งหมดเป็นสีตามผ้าโขมพัสตร์แล้วมันดูแปลกๆ ไม่เข้าพวกชอบกล
(ถึงจะมีผ้าสีเทามาแซมใต้หัวเข็มขัดแล้วก็เถอะ)
สัดส่วนการใช้สีที่มากกว่า 2 สีบนชุดเลยดูขัดๆไป…..

ส่วนที่เกินความจำเป็นคง เป็น ตาลปัตรพัดโบก อะไรนั่น ไม่ต้องก็ได้นะครับ
เพราะความเป็นช้างมันแทบไม่เหลือแล้ว(นอกจากหัวที่เป็นเหมือน “งวงช้าง” เหอะๆ)
ผมว่ามันเยอะมากแล้วในตัวชุด…..เพราะมีผ้ายาวที่ห้อยลากพื้นไปข้างหล้งเพิ่มความสง่าแล้ว
(เดี๋ยวจะกลายเป็นลิเกหลงโรงไปนะจ๊ะ :P )
จะได้พรีเซนต์ชุดให้ออกมาเต็มที่เวลาเดินโชว์…
ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้มีเจตนาจะมาต่อว่าอะไร
แต่เป็นการติเพื่อก่อ……..
เพราะเท่าที่ดูชุดจากหลายปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นหลายอย่างเกี่ยวกับนักออกแบบไทย
โดยเฉพาะรุ่นใหม่ๆ……
ผมไม่ทราบว่าในหลักสูตรการเรียนแฟชั่นในปัจจุบัน
นักเรียนได้เรียนประวัติศาสตร์แฟชั่นหรือความเป็นมาของเครื่องนุ่งห่มแต่ละยุค
แต่ละสมัยของไทย อาทิ ทวาราวดี ศรีวิชัย เป็นต้น บ้างหรือเปล่า
มีนักออกแบบแฟชั่นไทยกี่คนที่ นุ่งโจงกระเบนเป็นจริงๆและรู้ว่าโจงกระเบนมีกี่แบบ
ที่ไม่ใช่เด็กที่เรียนนาฏศิลป์มา…….อันนี้ก็น่าคิด
เตรื่องประดับต่างๆอาทิ ทับทรวง สังวาล ปั้นเหน่ง( อย่าทำหน้าอย่างนั้นสิ มันคือ หัวเข็มขัด)
ต่างๆเหล่านี้ได้ออกแบบมาโดยได้แรงบันดาลใจมาจากอะไร
ถึงได้มีเส้นสาย ลวดลายที่อ่อนช่อย เป็นเอกลักษณ์ สมเป็นลายไทย….
แต่ที่ต้องพูดอย่างนี้เพราะ สิ่งที่เขียนไปทั้งหมด มันคือ”รากเหง้า” ของเราเอง
ตลอดเวลาที่ตัวเองทำงานเสื้อผ้ามาก็ไม่มากและก็ไม่น้อย
คอยสังเกตุตลอดว่าจะมีการพัฒนาเรื่องเหล่านี้บ้างรึปล่าว….ขอบอกเลยว่า…
เวลายิ่งผ่านไป ทุกอย่างก็ยิ่งดูเลือนลาง….
ถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ก็คงเหมือนคำถามที่เคยมีนักเรียนคนหนึ่งในคลาสออกแบบ
ที่ผม(เคย)รับผิดชอบอยู่ถามผมว่า…
นอกจากภาษาไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติแล้ว
แฟชั่นไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติอยู่ที่ไหน………ฝากไว้ให้คิดนะครับ
ก่อนที่เราจะเรียนแฟชั่นตะวันตกกัน เรารู้จักแฟชั่นของบ้านเราเองดีแค่ไหน!
ยกตัวอย่างง่ายๆ ดีไซเนอร์อังกฤษ พูดได้ว่าเกือบทุกคน
ถ้าดูให้ดี ไม่ว่าวิเวียน เวสต์วุด นักออกแบบรุ่นใหญ่  แบรนด์หรูอย่าง เบลอเบอรี่ ที่ฮิตลายตารางกันนักหนา ไล่มาจนถึง
อเล็กซานเดอร์ แมคควีน ที่เพิ่งเสียชีวิตไป งานออกแบบของเค้าเกือบทั้งหมด ล้วนอยู่บนพื้นฐานเสื้อผ้าในแบบอังกฤษดั้งเดิมทั้งสิ้น….
คุณที่เป็นคนไทย ด้วยกายและจิตวิญญาณเท่านั้นที่รู้คำตอบนี้ ว่าความเป็นไทยของเราอยู่ที่ไหน……….
ตามหามันให้เจอและวันนั้นแฟชั่นไทยก็จะออกมาโชว์ให้โลกเห็นว่า ….สไตล์แบบไทยเป็นยังงัย
ฝากไว้ด้วยนะครับสำหรับนักออกแบบแฟชั่นไทยรุ่นใหม่ๆทุกท่าน เพราะคุณคืออนาคตของชาติ….
ปล.หูย……มาดูอีกที วันนี้เขียนเยอะ ยีดยาว บ่นอะไรไร้สาระอีกแล้วนะเรา
ส่วนตัวไม่ใช่ผู้ชำนาญโดยตรงเรื่องชุดไทย แต่ในฐานะที่เป็นคนไทยเลยพยายามหาความรู้เพิ่มเติม
อยู่เรื่อยๆ และคิดว่าคงเรียนไม่หมดในชาตินี้แน่ อิอิ แต่ก็ยังอยากรุ้อยู่ดี….
หิวแล้ว ไปหาช้าวแช่ชาววังแถวบางลำภู ตามด้วยขนมกลีบลำดวนอันหอมหวลกิน มื้อเที่ยงนี้ดีกว่า

อ้างอิงข้อมูลจากเวป http://www.alteregobkk.com/wordpress/?p=10811
ออกแบบตามวัฒนธรรมและประเพณีแบบไทยประยุกต์
งานเขียนลายไทยและวิถีชีวิตของสังคมไทยลงบนเปลือกไข่
 การเขียนลายไทยและการวาดสีน้ำเกี่ยวกับวิถีชีวิตแบบไทย ๆลงบนเปลือกไข่จะเป็นการเล่าถึงประวัติศาสตร์ และเรื่องราวต่าง ๆ ที่มีความเป็นมา วิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน

 การวาดภาพบนเปลือกไข่ที่มีพื้นผิวลื่นมัน ไม่เนียนเรียบเหมือนกระดาษหรือผืนผ้า ประกอบกับมีรูปทรงที่โค้งเว้า ทำให้การจับหรือวางมือสัมผัสได้ยาก  และความโค้งของเปลือกไข่  ทำให้การกะระยะของรูปทรงที่วาดได้ยากกว่าพื้นที่ระนาบ จะต้องใช้เวลาในการฝึกให้มีทักษะที่ชำนาญพอสมควร
    การเลือกเขียนลายไทยหรือวาดสีน้ำลงบนเปลือกไข่ เป็นศิลปะที่น่าสนใจ  เป็นการเรียนรู้ความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้น ๆ และการพัฒนาสังคมไทยที่มีมาอย่างเป็นลำดับ  และเพื่อได้แสดงออกทางวัฒนธรรม อนุรักษ์ ประเพณีไทยสมัยก่อนไว้ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
    การเขียนและวาดสีน้ำลงบนเปลือกไข่ที่บ่งบอกถึงความเป็นอยู่ของสังคมไทย  และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา ,มารยาทไทย, การแต่งกายของคนไทย ,การละเล่นของไทย, กีฬาไทย ,บ้านเรือนไทย ฯลฯ
งานศิลปะการเขียนลายไทยและวิถีชีวิตของสังคมไทยบนเปลือกไข่ที่แสดงออกถึงความเป็นไทยในอดีตนั้น มีคุณค่าในด้านอนุรักษ์วัฒนธรรมของไทย จึงได้เน้นการใช้วัสดุธรรมชาติเป็นไม้ทั้งฐานและยอด เพื่อสะท้อนความเป็นอยู่ของคนไทยในอดีต  แต่มีบ้างที่ประยุกต์ใช้ขาโลหะเพื่อความชอบที่หลากหลาย และทำให้ดูทันสมัยมากขึ้นจากยุคเดิม
อ้างอิงข้อมูลมาจากเวป http://designingegg.spaces.live.com/blog/
ประวัติเครื่องเบญจรงค์
การทำเครื่องเบญจรงค์ถือได้ว่าเป็นงา นด้านศิลปหัตถกรรมของไทยที ่มีมา ตั้งแต่สมัยโบราณ และเป็นงานของช่างฝีมือที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในราชวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่แสดง ถึงลักษณะเฉพาะของไทย ในปัจจุบันมีการทำกันในหลายพื้นที่ทั่ว ทุกภาคของประเทศไทย และสามารถใช้ได้กับบุคคลทั่วไป
เครื่องเบญจรงค์เป็นเครื่องถ้วยที่มีการลงสีที่พื้นและลวดลาย เป็นเครื่องปั้นดินเผาประเภท เซรามิคส์ (Ceramics) ใช้เนื้อดิน ประเภทพอร์ซเลน (Porcelain ware) โดยเป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เขียนลายด้วยวิธีลงยา หรือสีผสมเคลือบ (Enamel) เป็นง านที่มีต้น กำเนิดในประเทศจีน ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ในรัชสมัยพระเจ้าซวนเต๊อะ (พ.ศ. 1969-1978) สมัยราชวงศ์หมิง มีการผลิตครั้งแรก ในแคว้นกังไซ มณฑลเจียงซี (หรือที่คนไทยเรียกว่า กังไส) และพัฒนาต่อมาจนเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยพระเจ้าเฉิงฮั่ว (พ.ศ. 2008-2030) การเขียนลายตามแบบของจีนจะใช้ตั้งแต่ 3 สีขึ้นไป มีชื่อเรียกในภาษาจีนต่างๆกัน เช่น อู๋ไฉ่ โต้วไฉ่ เฝินไฉ่ และฝาหลั่งไฉ่ ส่วนที่เป็นของไทยนั้น จะนิยมลง 5 สีด้วยกัน คือ ขาว เหลือง ดำ แดง เขียว (คราม) จึงเรียกว่า เครื่องเบญจรงค์ หรือ 5 สี โดยทั้ง 5 สีนี้จัดได้ว่าเป็นแม่สีเครื่องถ้วยเบญจรงค์ของไทย
และในบางครั้งอาจมีการใช้สีมากกว่า 5 สีด้วย เช่น ชมพู ม่วง แสด และน้ำตาล ในอดีตใช้การสั่งทำ ที่ประเทศจีนตามความคิดและลวดลายของไทย การสั่งทำนั้นจะมีช่างของไทยเดินทางไปควบคุมการผลิตเพื่อให้ได้รูปล ักษณะที่เป็นแบบไทย เริ่มตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ยุคที่ 3 ช่วงประมาณรัชสมัย พระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2173-2198)
และสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ. 2199-2231) ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์หมิงตอนปลาย โดยเฉพาะใน สมัยพระเจ้าวั่นลี่ และต่อเนื่องจนถึงสมัยราชวงศ์ชิง การสั่งทำจากประเทศจีนในสมัยนั้นได้สั่งทำเป็นโถปริก และโถฝาขนาดกลาง เขียน เป็นลายกนก ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายเทพนม ลายนรสิงห์ และยังมีที่เป็นลวดลายของจีน เช่น ลายเทพนมจีน (เทวดาท้องพลุ้ย) มีพื้นสี ต่างๆ เช่น เหลือง ชมพู ม่วงอ่อน เครื่องถ้วยเบญจรงค์ของไทยมีทั้งสั่งทำที่เมืองจิงเต๋อเจิ้น และจากเตาเผาที่มณฑลฝูเจี้ยนและ กวางตุ้ง เครื่องเบญจรงค์ที่สั่งทำจากเมืองจิงเต๋อเจิ้น มักเป็นของใช้ในราชสำนักเพราะเนื้อดินปั้นละเอียด แกร่ง และช่างมี ฝีมือดี เขียนลายได้ละเอียดสวยงาม
ส่วนเครื่องถ้วยลายน้ำทอง จะเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่เขียนลายด้วยวิธีลงยาเช่น เดียวกันกับเครื่องเบญจรงค์ แต่จะใช้สีทองที่ทำจากทองคำ ในอดีตเริ่มต้นมาจากการสั่งทำจากประ เทศจีนเช่นเดียวกัน โดยลายน้ำทองนี้ นิยมในประเทศจีน ในสมัยราชวงศ์ชิง ใน รัชสมัยของพระเจ้า คังซี (พ.ศ. 2205-2266) และพระเจ้าหย่งเจิ้น (พ.ศ. 2266-2279) ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชจนถึงรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ
ซึ่งในสมัยนี้มีการสั่งทำเครื่องถ้วยลายน้ำทอง จากประเทศญี่ปุ่นด้วย เครื่องถ้วยลายน้ำทองได้รับความนิยมมากในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตน โกสินทร์
อ้างอิงจาก http://www.nmt.or.th/korat/dankwian/Lists/List24/AllItems.aspx

ผ้าไหมไทย
แม้ว่าเราจะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดมาใชอธิบายเรื่องจุดกำเนิดของการทอผ้าในประเทไทยก็ตาม แต่ก็อาจจะกล่าวได้ว่า การทอผ้าเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งที่มนุษย์ในสมัยโบราณที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้รู้จัก ทำขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำเช่นที่ เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี อายุประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว มีรูปมนุษย์โบราณกับสัตว์เลี้ยง เช่น ควาย และสุนัข แสดงว่ามนุษย์ยุคนั้นรู้จักเลี้ยงสัตว์แล้ว ลักษณะการแต่งกายของมนุษย์ยุคนั้นดูคล้ายกับจะเปลือยท่อนบน ส่วนท่อนล่างสันนิษฐานว่าจะ ใช้หนังสัตว์ หรือผ้าหยาบๆ ร้อยเชือกผูกไว้รอบๆ สะโพก บนศีรษะประดับด้วยขนนก
จากภาชนะเครื่องปั้นดินเผาโบราณที่พบ บริเวณถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน อายุประมาณ๗,๐๐๐-๘,๐๐๐ ปีมาแล้ว พบว่ามีการตกแต่งด้วยรอยเชือก และรอยตาข่ายทาบ ทำให้เราสันนิษฐาว่า มนุษย์น่าจะรู้จักทำเชือกและตาข่ายก่อน โดยนำพืชที่มีใยมาฟั่นให้เป็นเชือก แล้วนำเชือกมาผูก หรือถักเป็นตาข่าย จากการถักก็พัฒนาขึ้นมาเป็นการทอด้วยเทคนิคง่ายๆ แบบการจักสานคือนำเชือกมาผูกกับไม้หรือยึดไว้ให้ด้ายเส้นยืนแล้วนำเลือกอีกเส้นหนึ่งมาพุ่งขัดกับด้ายเส้นยืน เกิดเป็นผืนผ้าหยาบๆ ขึ้น เหมือนการขัดกระดาษหรือการจักสาน เกิดเป็นผ้ากระสอบ แบบหยาบๆ
เราพบหลักฐานที่สำคัญทางโบราณคดีที่บริเวณบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เช่น พบกำไล สำริด ซึ่งมีสนิม และมีเศษผ้าติดอยู่กับคราบสนิม นั้น นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า สนิมเป็นตัวกัด
กร่อนโลหะซึ่งเป็นอนินทรียวัตถุ แต่กลับเป็นตัวอนุรักษ์ผ้าซึ่งเป็นอินทรียวัตถุไว้ไม่ให้เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ที่แหล่งบ้านเชียงนี้ เรายังพบ แวดินเผาซึ่งเป็นอุปกรณ์การปั่นด้ายแบบง่ายๆ และพบลูกกลิ้งแกะลายสำหรับใช้ทำลวดลายบน ผ้าเป็นจำนวนมาก จึงทำให้พอจะสันนิษฐานได้ว่า มนุษย์อาศัยอยู่ในบริเวณบ้านเชียงเมื่อ ๒,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว รู้จักการปั่นอ
อ้างอิงจาก http://www.nmt.or.th/angthong/bangjuk/Lists/OTOP1/AllItems.aspx

สักยันต์ ประวัติความเป็นมา ในการสักยันต์ของไทย
 วัฒนธรรมการสักบนผิวหนัง การสักลวดลายบนผิวหนังหรือที่เรียกว่าสักลายหรือสักยันต์เป็นวัฒธรรมอย่างหนึ่งของไทย ที่มีมาช้านานแต่ทุกวันนี้ลายสักหรือสักยันต์ตามความเชื่ออย่างโบราณแทบจะไม่มีแล้ว จะมีเพื่อความสวยงามเป็นการตกแต่งเสริมความงามให้กับร่างกายบ้างแต่ไม่มากนัก เรื่องราวของลายสักยันต์ หรือ รอยสักยันต์ ของคนไทยเป็นสิ่งที่น่าศึกษาค้นคว้าเรื่องหนึ่ง แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครสนใจใคร่ศึกษามากนัก ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างหนึ่งและนับวันจะสูญหายไป     
        "สัก"  คืออะไร พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ เขียนว่า "สัก  คือ การเอาเหล็กแหลมแทงลงด้วยวิธี การหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน, ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระ เครื่องหมายหรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึกเรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้น้ำมันเรียกว่า สักน้ำมัน (โบ)” ทำเครื่องหมายสักเพื่อแสดงเป็นหลักฐาน เช่น "สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือ มีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็นผู้ต้องโทษปราชิก เป็นต้น" จากคำอธิบายดังกล่าวทำให้รู้ว่า การสักลายหรือลายสักของไทยคืออะไร ประเพณีการสักนั้นมีไม่แพร่หลาย บางหมู่บ้านจะพบว่า ผู้ชายไม่ว่าหนุ่มหรือแก่มักมีลายสักที่หน้าอก และแผ่นหลังตามสมัยนิยม ในขณะที่ผู้ชำนาญในการสักของท้องถิ่นแสดงความสามารถที่สืบทอดมาอย่างเต็มที่ผู้ที่ทำหน้าที่สักมีทั้งพระสงฆ์และคนธรรมดา
        การศึกษาค้นคว้าศิลปะชาวบ้านประเภทนี้ ควรจะได้รับการศึกษาบันทึกเกี่ยวกับการออกแบบกรรมวิธีและพิธีกรรม ศึกษาเปรียบเทียบแต่ละกลุ่มชน ศึกษาค่านิยม และความเปลี่ยนแปลง ศึกษาการสักที่สืบทอดมาแต่โบราณ การสักมีรูปแบบที่แตกต่างกันอยู่ 2 รูปแบบ คือ ลายสักที่สืบทอดกันมาแแต่โบราณ และ ลายสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ แต่ละรูปแบบจะมีวิวัฒนา การตามแบบฉบับของมัน และแสดงให้เห็นรูปแบบของธรรมเนียมในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยในแต่ละแง่แต่ละมุมของลายสักที่สืบทอดกันมาในสังคมไทยในอดีต
        การสักที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ นักประวัติศาสตร์ซึ่งคุ้นเคยกับชีวิตแบบไทย ๆ คงจะทราบความจริงว่าข้าราชการของไทยจะทำตำหนิที่ข้อมือคนในบังคับซึ่งเป็นหน้าที่ของแผนกทะเบียนเป็นผู้บันทึกและรวบรวมสถิติชาย และอาจะเดาได้ว่าการสักเป็นจุดเริ่มต้นของการแบ่งส่วนราชการของไทย หรือการสักเป็นไปตามการแบ่งส่วนราชการ การทำเครื่องหมายลงบนร่างกายนี้อาจมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ( พ.ศ. ๑๙๙๑ - ๒๐๓๑ )
       การสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ วัตถุประสงค์ของการสัก ผู้ชายบางคนจะสักยันต์ด้วยเหตุผลทางเวทมนต์คาถาเพื่อความแข็ง แกร่งของจิตใจและต้องการอยู่ยงคงกระพัน ซึ่งเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประเพณีนิยมในชนบางกลุ่ม การสักลักษณะนี้จะสักให้เฉพาะชายฉกรรจ์เท่านั้น การสักมีลักษณะที่สอดแทรกไว้ด้วยความเชื่อและพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น ก่อนทำการสักจะต้องมีการทำพิธีไหว้ครู ในการสักนั้นก็จะประกอบด้วยการร่ายเวทมนต์โดยอาจารย์สักจะถูผิวหนังของผู้มาสักทั้งก่อน ขณะสักลายหรือสักยันต์ และหลังจากสักเสร็จแล้ว อาจารย์สักแต่ละคนจะมีรูปแบบของลวดลายเป็นของตนเอง และผู้ที่ต้องการจะสักสามารถเลือกลายที่อาจารย์มีอยู่ได้ตามต้องการ ส่วนมากจะเป็นสัตว์ในเทพนิยาย และ เป็นอักขระขอมและเลขยันต์ อาจจะสักลายทั้งสามประเภทผสมกัน ดังนั้นลายสักของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
        การสักยันต์ ในประเทศไทยอาจจะมีมาแต่โบราณ แต่จะมีมาตั้งแต่สมัยใดนั้นไม่มีหลักฐานชัดเจน การสักยันต์เพื่อให้อยู่ยงคงกระพันนั้นเชื่อว่ามีมานานแล้วดังปรากฎในวรรณคดี เรื่องขุนช้างขุนแผน และวรรณกรรมอื่นๆ แต่การสักมักมองว่าเป็นเรื่องของนักเลง จึงถูกมองไปในทางลบ ทำให้ศิลปะบนผิวหนังประเภทนี้เกือบจะสูญหายไปจากสังคมไทย

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ศิลปะลายไทย

ลายไทย
        ศิลปไทย เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ความเป็นชาติไทยเรา ศิลปไทยได้มีการสืบทอดมาแต่โบราณกาลแล้ว เป็นความภาคภูมิใจของชาวไทยเราที่มีศิลปะประจำชาติที่งดงามซึ่งนับวันมีแต่จะเลือนหายไป
        ศิลปไทย มีให้เห็นในงานหลายประเภท เช่น งานจิตรกรรมไทย งานลายรดน้ำ งานสถาปัตยกรรม เช่น ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ คันทวย ลายปูนปั้น งานรัก งานถม งานแกะ งานปั้น เป็นต้น   ในแต่ละประเภทจะมีช่างที่ชำนาญเฉพาะด้านซึ่งเรารวมเรียกว่า "ช่างสิบหมู่"
        ศิลปไทย  ไม่ว่าจะเป็นประเภทใด จะต้องเริ่มที่การเขียนลายก่อนเป็นลำดับแรก ฉะนั้นการฝึกหัดเขียนลายไทยเป็นพื้นหลังที่สำคัญ ต้องมีใจรักและมีความอดทนเป็นอย่างยิ่ง  เมื่อเขียนจนเกิดความชำนาญและสามมารถผูกลายได้แล้วก็นำไปสร้างสรรค์งานศิลปไทยแขนงอื่นๆได้
        ปัจจุบันนี้ ผู้คนได้ให้ความสนใจในแบบอย่างศิลปะตะวันตกมากขึ้นทำให้ศิลปะไทยขาดช่วงหายไป    ไม่มีการพัฒนาการที่ต่อเนื่อง  ดังนั้นการฝึกสอนการเขียนลายไทยจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เยาวชนคนไทยรุ่นใหม่ที่สนใจในศิลปไทย ได้ศึกษา เรียนรู้ สร้างสรรค์และประยุกต์งานศิลป์  สืบทอดและสานต่อความเป็นไทยให้คงอยู่ตลอดไป
                                                                                                                        บุญทอง  อิ่มลาภผล
            ศิลปไทย เป็นศิลปะที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย  ที่มีมาแต่โบราณกาลได้มีการพัฒนาการและสืบทอดมาจนปัจจุบันนี้  ศิลปไทยอันวิจิตรงดงาม เกิดจากภูมิปัญญาและฝีมือของช่างศิลป์ไทย โดยได้รับความบันดาลใจจากรูปทรงธรรมชาติ จากพืช  พันธุ์ข้าว สรรพสัตว์ และสิ่งที่ปรากฏตามธรรมชาติ ได้แก่ดอกไม้ ตาไม้ เถาวัลย์ กอไผ่ เปลวไฟ มนุษย์และสัตว์ นำมาประดิษฐ์ดัดแปลงให้เป็นลวดลายต่างๆ เหล่านี้เราเรียกว่า "ลายไทย"
          การศึกษาศิลปไทยทุกแขนง จะต้องเริ่มที่การเขียนลายก่อน เมื่อเขียนจนชำนาญและสามารถผูกเป็นลายแล้ว สามารถนำไปสร้างสรรค์ศิลปไทยแขนงอื่นๆ เช่น งานรัก งานถม งานแกะ งานปั้น เป็นต้น ฉะนั้นการฝึกหัดเขียนลายเป็ฯพื้นฐานที่สำคัญ และต้องใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง การฝึกก็ต้องเริ่มจากลายที่ง่ายก่อน  และต้องฝึกเขียนซ้ำๆหลายๆ เที่ยวจนเกิดความชำนาญและแม่นยำ
            ลายไทยในสมัยโบราณ แบ่งออกเป็น 4หมวด ได้แก่
            1. หมวดกระหนก  หมายถึง  การเขียนลวดลายไทยต่างๆ เช่น กระหนกสามตัว กระหนกใบเทศ กระจังตาอ้อย ประจำยาง เป็นต้น
            2. หมวดนารี  หมายถึง  การเขียนภาพคน เช่น ภาพพระ ภาพนาง ภาพเทวดา เป็นต้น ซึ่งต้องฝึกเขียนรูปร่าง ใบหน้า และกิริยาท่าทางต่างๆของคน รวมถึงภาพจับ
            3.หมวดกระบี่  หมายถึง  การเขียนภาพลิง ภาพยักษ์ อสูร และพวกอมนุษย์ต่างๆโดยมากจะยึดเอายักษ์ และลิงที่เป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์เป็นหลัก
            4.หมวดคชะ  หมายถึง  การเขียนภาพสัตว์ต่างๆ ได้แก่ สัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เสือ สิงห์ กระทิง แรด เป็นต้น และสัตว์ในวรรณคดีที่เกิดจากจินตนาการของช่างเขียนหรือเราเรียกว่า สัตว์หิมพานต์ มีรูปร่างประหลาด เช่น ราชสีห์ คชสีห์ กินรี ครุฑ หงส์ เป็นต้น
            การเขียนลายไทยนั้นต้องฝึกการเคลื่อนไหวของมือ การฝึกเขียนเส้นให้มีความลื่นไหล อ่อนช้อยมีลีลาและจังหวะที่สอดรับสัมพันธ์กันอย่างลงตัว ควรคำนึงถึงช่องไฟของลายการล้อของลาย และควรที่จะฝึกเขียนมากสักหน่อย เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานที่ดีในการเขียนลายไทยต่อๆไป....
ข้อมูลจากแบบฝึกหัดเขียนลายไทยเล่ม3 เขียนโดย บุญทอง อิ่มลาภผล





                                                  
ภาพและบทข้อความ จาก http://www.google.com/