วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Design Culture

ชุดประกวดนางงาม จากการdesingลายไทย
แทบไม่น่าเชื่อว่าเวปบล๊อกไร้สาระแห่งนี้ไม่เคยเขียนถึงเรื่องการประกวดชุดประจำชาติ
ของนางงามที่จะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปประกวดนางงามจักรยาน….เอ้ย ขอโทษครับ
นางงามจักรวาล…..หรือที่เรียกแบบอินเทอร์ว่า…..มิส ยูนิเวิร์สส(กรุณาใส่สำเนียงเวลาอ่านเพื่อความไพเราะ) เลย…
ดูมาก็หลายปีแล้วกับโครงการประกวดชุดประจำชาติที่จะใช้ประกวดนางงามจักรวาล
และปีนี้ผู้ที่ได้รางวัลอันทรงเกียรตินี้คือคุณ พลิน อภิญญากุล กับแนวการออกแบบที่ใช้ชื่อว่า
“สยาม ไอยรา”
มีคนถามว่าผมรู้สึกอย่างไรกับงานชิ้นนี้บ้าง….
ผมชอบคอนเซปเรื่อง” ช้าง” ครับ
ส่วนเรื่องรูปแบบชุดหล่ะ….
ก็ดูโก้ดี…แต่ น่าจะออกมาให้เหมือนหรือใกล้เคียงภาพที่นักออกแบบวาดไว้มากที่สุด
เพราะอะไร…..
ขอพูดเรื่องสีชุดก่อนละกัน
โดยเฉพาะสีชุดที่ออกแบบไว้เป็นสีเทาเหมือนสีผิวของช้าง และมีลวดลายไทยในนั้น
ตัดกับสีผ้าแต่ง สีแดงเลือดนกแลดูโก้มาก
ถ้าออกมาได้อย่างภาพฝันจริง ผมว่าจะดูสวย ทันสมัยมาก….
แต่น่าเสียดาย ที่เปลี่ยนสีไปตามวัสดุที่ใช้จริง
ซึ่งก็คือเรื่องผ้า คราวนี้เป็น ” ผ้าโขมพัสตร์” อีกแล้วครับท่าน….โอ้ววว
ที่ว่าอีกแล้วเพราะใช้มาอย่างต่อเนื่องในช่วง 3ปีให้หลัง …
แรกๆก็ว่าดีที่เอาผ้าโขมพัสตร์กลับมาใช้ เพราะถึงจะเป็นผ้าฝ้าย พิมพ์ทอง มีเชิงผ้า
ที่มีลวดลายเอกลักษณ์สวยงาม แต่ถ้าใช้เกือบทุกปีแบบนี้ก็ไม่ไหวนะครับ
“มันเลี่ยน” …ขอร้องเถอะครับ อย่าอ้างว่า เวลาไม่พอ หรือต้นทุนการผลิตสูง!!!
นี่ชุดประจำชาติที่จะไปอวดคนทั้งโลกนะครับท่าน…
ผ้าไทยมีสวยๆอีกตั้งเยอะน่าจะเลือกหยิบมาใช้บ้างก็ดี…ผมว่านะ
ส่วนเรื่องตัวชุด
ดูจากชุดจริงตัวชุดท่อนบนที่เป็นแขนหมูแฮม( Leg-of-Mutton Sleeves)
( แบบเสื้อที่นิยมในราชสำนักสมัยช่วงปลายรัชกาลที่5) แต่มีข้างเดียวซึ่งก็ดูเก๋ไปอีกแบบ…
ช่วงล่างถ้าดูจากภาพอ้างอิงว่าเป็น “โจงกระเบน” ชาวบ้าน
แบบในภาพจิตรกรรมฝาผนัง …
แต่ชุดที่ออกแบบมากับที่เห็นชุดจริงมันไม่ใช่นี่ครับ
ที่เห็นมันเป็นชิ้นสำเร็จรูปที่เอารูปแบบมาจากการนุ่งผ้า 2 ชั้น
ชั้นแรกหรือที่เห็นเป็นขากางเกงออกมานั่นเรียกว่า “สนับเพลา
แล้วนุ่งผ้าจับหยักรั้ง ทับสนับเพลา อีกที การนุ่งแบบนี้จะมีให้เห็นในราชสำนักสมัยโบราณเป็นส่วนใหญ่
หรือในการแสดง มโหรสพ ทั่วไป ….
ส่วนของเตรื่องประดับตั้งแต่ศรีษะ ลงมาถึงเท้า ก็ดูเข้าทีดีนะผมว่า
ถึงแม้จะดูเป็นละครไปหน่อย(อันนี้ดูจากชุดจริงนะ)
การเพิ่มสังวาล ปิดช่วงเอวที่เปลือยเปล่าให้ไม่ดูเรียบง่ายจนเกินไป เข้าท่าดี
ถุงน่อง รองเท้าดูเป็นไปตามภาพเสก็ตที่สุด แต่…..
พอเปลี่ยนสีชุดทั้งหมดเป็นสีตามผ้าโขมพัสตร์แล้วมันดูแปลกๆ ไม่เข้าพวกชอบกล
(ถึงจะมีผ้าสีเทามาแซมใต้หัวเข็มขัดแล้วก็เถอะ)
สัดส่วนการใช้สีที่มากกว่า 2 สีบนชุดเลยดูขัดๆไป…..

ส่วนที่เกินความจำเป็นคง เป็น ตาลปัตรพัดโบก อะไรนั่น ไม่ต้องก็ได้นะครับ
เพราะความเป็นช้างมันแทบไม่เหลือแล้ว(นอกจากหัวที่เป็นเหมือน “งวงช้าง” เหอะๆ)
ผมว่ามันเยอะมากแล้วในตัวชุด…..เพราะมีผ้ายาวที่ห้อยลากพื้นไปข้างหล้งเพิ่มความสง่าแล้ว
(เดี๋ยวจะกลายเป็นลิเกหลงโรงไปนะจ๊ะ :P )
จะได้พรีเซนต์ชุดให้ออกมาเต็มที่เวลาเดินโชว์…
ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้มีเจตนาจะมาต่อว่าอะไร
แต่เป็นการติเพื่อก่อ……..
เพราะเท่าที่ดูชุดจากหลายปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นหลายอย่างเกี่ยวกับนักออกแบบไทย
โดยเฉพาะรุ่นใหม่ๆ……
ผมไม่ทราบว่าในหลักสูตรการเรียนแฟชั่นในปัจจุบัน
นักเรียนได้เรียนประวัติศาสตร์แฟชั่นหรือความเป็นมาของเครื่องนุ่งห่มแต่ละยุค
แต่ละสมัยของไทย อาทิ ทวาราวดี ศรีวิชัย เป็นต้น บ้างหรือเปล่า
มีนักออกแบบแฟชั่นไทยกี่คนที่ นุ่งโจงกระเบนเป็นจริงๆและรู้ว่าโจงกระเบนมีกี่แบบ
ที่ไม่ใช่เด็กที่เรียนนาฏศิลป์มา…….อันนี้ก็น่าคิด
เตรื่องประดับต่างๆอาทิ ทับทรวง สังวาล ปั้นเหน่ง( อย่าทำหน้าอย่างนั้นสิ มันคือ หัวเข็มขัด)
ต่างๆเหล่านี้ได้ออกแบบมาโดยได้แรงบันดาลใจมาจากอะไร
ถึงได้มีเส้นสาย ลวดลายที่อ่อนช่อย เป็นเอกลักษณ์ สมเป็นลายไทย….
แต่ที่ต้องพูดอย่างนี้เพราะ สิ่งที่เขียนไปทั้งหมด มันคือ”รากเหง้า” ของเราเอง
ตลอดเวลาที่ตัวเองทำงานเสื้อผ้ามาก็ไม่มากและก็ไม่น้อย
คอยสังเกตุตลอดว่าจะมีการพัฒนาเรื่องเหล่านี้บ้างรึปล่าว….ขอบอกเลยว่า…
เวลายิ่งผ่านไป ทุกอย่างก็ยิ่งดูเลือนลาง….
ถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ก็คงเหมือนคำถามที่เคยมีนักเรียนคนหนึ่งในคลาสออกแบบ
ที่ผม(เคย)รับผิดชอบอยู่ถามผมว่า…
นอกจากภาษาไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติแล้ว
แฟชั่นไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติอยู่ที่ไหน………ฝากไว้ให้คิดนะครับ
ก่อนที่เราจะเรียนแฟชั่นตะวันตกกัน เรารู้จักแฟชั่นของบ้านเราเองดีแค่ไหน!
ยกตัวอย่างง่ายๆ ดีไซเนอร์อังกฤษ พูดได้ว่าเกือบทุกคน
ถ้าดูให้ดี ไม่ว่าวิเวียน เวสต์วุด นักออกแบบรุ่นใหญ่  แบรนด์หรูอย่าง เบลอเบอรี่ ที่ฮิตลายตารางกันนักหนา ไล่มาจนถึง
อเล็กซานเดอร์ แมคควีน ที่เพิ่งเสียชีวิตไป งานออกแบบของเค้าเกือบทั้งหมด ล้วนอยู่บนพื้นฐานเสื้อผ้าในแบบอังกฤษดั้งเดิมทั้งสิ้น….
คุณที่เป็นคนไทย ด้วยกายและจิตวิญญาณเท่านั้นที่รู้คำตอบนี้ ว่าความเป็นไทยของเราอยู่ที่ไหน……….
ตามหามันให้เจอและวันนั้นแฟชั่นไทยก็จะออกมาโชว์ให้โลกเห็นว่า ….สไตล์แบบไทยเป็นยังงัย
ฝากไว้ด้วยนะครับสำหรับนักออกแบบแฟชั่นไทยรุ่นใหม่ๆทุกท่าน เพราะคุณคืออนาคตของชาติ….
ปล.หูย……มาดูอีกที วันนี้เขียนเยอะ ยีดยาว บ่นอะไรไร้สาระอีกแล้วนะเรา
ส่วนตัวไม่ใช่ผู้ชำนาญโดยตรงเรื่องชุดไทย แต่ในฐานะที่เป็นคนไทยเลยพยายามหาความรู้เพิ่มเติม
อยู่เรื่อยๆ และคิดว่าคงเรียนไม่หมดในชาตินี้แน่ อิอิ แต่ก็ยังอยากรุ้อยู่ดี….
หิวแล้ว ไปหาช้าวแช่ชาววังแถวบางลำภู ตามด้วยขนมกลีบลำดวนอันหอมหวลกิน มื้อเที่ยงนี้ดีกว่า

อ้างอิงข้อมูลจากเวป http://www.alteregobkk.com/wordpress/?p=10811
ออกแบบตามวัฒนธรรมและประเพณีแบบไทยประยุกต์
งานเขียนลายไทยและวิถีชีวิตของสังคมไทยลงบนเปลือกไข่
 การเขียนลายไทยและการวาดสีน้ำเกี่ยวกับวิถีชีวิตแบบไทย ๆลงบนเปลือกไข่จะเป็นการเล่าถึงประวัติศาสตร์ และเรื่องราวต่าง ๆ ที่มีความเป็นมา วิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน

 การวาดภาพบนเปลือกไข่ที่มีพื้นผิวลื่นมัน ไม่เนียนเรียบเหมือนกระดาษหรือผืนผ้า ประกอบกับมีรูปทรงที่โค้งเว้า ทำให้การจับหรือวางมือสัมผัสได้ยาก  และความโค้งของเปลือกไข่  ทำให้การกะระยะของรูปทรงที่วาดได้ยากกว่าพื้นที่ระนาบ จะต้องใช้เวลาในการฝึกให้มีทักษะที่ชำนาญพอสมควร
    การเลือกเขียนลายไทยหรือวาดสีน้ำลงบนเปลือกไข่ เป็นศิลปะที่น่าสนใจ  เป็นการเรียนรู้ความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้น ๆ และการพัฒนาสังคมไทยที่มีมาอย่างเป็นลำดับ  และเพื่อได้แสดงออกทางวัฒนธรรม อนุรักษ์ ประเพณีไทยสมัยก่อนไว้ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
    การเขียนและวาดสีน้ำลงบนเปลือกไข่ที่บ่งบอกถึงความเป็นอยู่ของสังคมไทย  และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา ,มารยาทไทย, การแต่งกายของคนไทย ,การละเล่นของไทย, กีฬาไทย ,บ้านเรือนไทย ฯลฯ
งานศิลปะการเขียนลายไทยและวิถีชีวิตของสังคมไทยบนเปลือกไข่ที่แสดงออกถึงความเป็นไทยในอดีตนั้น มีคุณค่าในด้านอนุรักษ์วัฒนธรรมของไทย จึงได้เน้นการใช้วัสดุธรรมชาติเป็นไม้ทั้งฐานและยอด เพื่อสะท้อนความเป็นอยู่ของคนไทยในอดีต  แต่มีบ้างที่ประยุกต์ใช้ขาโลหะเพื่อความชอบที่หลากหลาย และทำให้ดูทันสมัยมากขึ้นจากยุคเดิม
อ้างอิงข้อมูลมาจากเวป http://designingegg.spaces.live.com/blog/
ประวัติเครื่องเบญจรงค์
การทำเครื่องเบญจรงค์ถือได้ว่าเป็นงา นด้านศิลปหัตถกรรมของไทยที ่มีมา ตั้งแต่สมัยโบราณ และเป็นงานของช่างฝีมือที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในราชวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่แสดง ถึงลักษณะเฉพาะของไทย ในปัจจุบันมีการทำกันในหลายพื้นที่ทั่ว ทุกภาคของประเทศไทย และสามารถใช้ได้กับบุคคลทั่วไป
เครื่องเบญจรงค์เป็นเครื่องถ้วยที่มีการลงสีที่พื้นและลวดลาย เป็นเครื่องปั้นดินเผาประเภท เซรามิคส์ (Ceramics) ใช้เนื้อดิน ประเภทพอร์ซเลน (Porcelain ware) โดยเป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เขียนลายด้วยวิธีลงยา หรือสีผสมเคลือบ (Enamel) เป็นง านที่มีต้น กำเนิดในประเทศจีน ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ในรัชสมัยพระเจ้าซวนเต๊อะ (พ.ศ. 1969-1978) สมัยราชวงศ์หมิง มีการผลิตครั้งแรก ในแคว้นกังไซ มณฑลเจียงซี (หรือที่คนไทยเรียกว่า กังไส) และพัฒนาต่อมาจนเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยพระเจ้าเฉิงฮั่ว (พ.ศ. 2008-2030) การเขียนลายตามแบบของจีนจะใช้ตั้งแต่ 3 สีขึ้นไป มีชื่อเรียกในภาษาจีนต่างๆกัน เช่น อู๋ไฉ่ โต้วไฉ่ เฝินไฉ่ และฝาหลั่งไฉ่ ส่วนที่เป็นของไทยนั้น จะนิยมลง 5 สีด้วยกัน คือ ขาว เหลือง ดำ แดง เขียว (คราม) จึงเรียกว่า เครื่องเบญจรงค์ หรือ 5 สี โดยทั้ง 5 สีนี้จัดได้ว่าเป็นแม่สีเครื่องถ้วยเบญจรงค์ของไทย
และในบางครั้งอาจมีการใช้สีมากกว่า 5 สีด้วย เช่น ชมพู ม่วง แสด และน้ำตาล ในอดีตใช้การสั่งทำ ที่ประเทศจีนตามความคิดและลวดลายของไทย การสั่งทำนั้นจะมีช่างของไทยเดินทางไปควบคุมการผลิตเพื่อให้ได้รูปล ักษณะที่เป็นแบบไทย เริ่มตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ยุคที่ 3 ช่วงประมาณรัชสมัย พระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2173-2198)
และสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ. 2199-2231) ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์หมิงตอนปลาย โดยเฉพาะใน สมัยพระเจ้าวั่นลี่ และต่อเนื่องจนถึงสมัยราชวงศ์ชิง การสั่งทำจากประเทศจีนในสมัยนั้นได้สั่งทำเป็นโถปริก และโถฝาขนาดกลาง เขียน เป็นลายกนก ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายเทพนม ลายนรสิงห์ และยังมีที่เป็นลวดลายของจีน เช่น ลายเทพนมจีน (เทวดาท้องพลุ้ย) มีพื้นสี ต่างๆ เช่น เหลือง ชมพู ม่วงอ่อน เครื่องถ้วยเบญจรงค์ของไทยมีทั้งสั่งทำที่เมืองจิงเต๋อเจิ้น และจากเตาเผาที่มณฑลฝูเจี้ยนและ กวางตุ้ง เครื่องเบญจรงค์ที่สั่งทำจากเมืองจิงเต๋อเจิ้น มักเป็นของใช้ในราชสำนักเพราะเนื้อดินปั้นละเอียด แกร่ง และช่างมี ฝีมือดี เขียนลายได้ละเอียดสวยงาม
ส่วนเครื่องถ้วยลายน้ำทอง จะเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่เขียนลายด้วยวิธีลงยาเช่น เดียวกันกับเครื่องเบญจรงค์ แต่จะใช้สีทองที่ทำจากทองคำ ในอดีตเริ่มต้นมาจากการสั่งทำจากประ เทศจีนเช่นเดียวกัน โดยลายน้ำทองนี้ นิยมในประเทศจีน ในสมัยราชวงศ์ชิง ใน รัชสมัยของพระเจ้า คังซี (พ.ศ. 2205-2266) และพระเจ้าหย่งเจิ้น (พ.ศ. 2266-2279) ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชจนถึงรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ
ซึ่งในสมัยนี้มีการสั่งทำเครื่องถ้วยลายน้ำทอง จากประเทศญี่ปุ่นด้วย เครื่องถ้วยลายน้ำทองได้รับความนิยมมากในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตน โกสินทร์
อ้างอิงจาก http://www.nmt.or.th/korat/dankwian/Lists/List24/AllItems.aspx

ผ้าไหมไทย
แม้ว่าเราจะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดมาใชอธิบายเรื่องจุดกำเนิดของการทอผ้าในประเทไทยก็ตาม แต่ก็อาจจะกล่าวได้ว่า การทอผ้าเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งที่มนุษย์ในสมัยโบราณที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้รู้จัก ทำขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำเช่นที่ เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี อายุประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว มีรูปมนุษย์โบราณกับสัตว์เลี้ยง เช่น ควาย และสุนัข แสดงว่ามนุษย์ยุคนั้นรู้จักเลี้ยงสัตว์แล้ว ลักษณะการแต่งกายของมนุษย์ยุคนั้นดูคล้ายกับจะเปลือยท่อนบน ส่วนท่อนล่างสันนิษฐานว่าจะ ใช้หนังสัตว์ หรือผ้าหยาบๆ ร้อยเชือกผูกไว้รอบๆ สะโพก บนศีรษะประดับด้วยขนนก
จากภาชนะเครื่องปั้นดินเผาโบราณที่พบ บริเวณถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน อายุประมาณ๗,๐๐๐-๘,๐๐๐ ปีมาแล้ว พบว่ามีการตกแต่งด้วยรอยเชือก และรอยตาข่ายทาบ ทำให้เราสันนิษฐาว่า มนุษย์น่าจะรู้จักทำเชือกและตาข่ายก่อน โดยนำพืชที่มีใยมาฟั่นให้เป็นเชือก แล้วนำเชือกมาผูก หรือถักเป็นตาข่าย จากการถักก็พัฒนาขึ้นมาเป็นการทอด้วยเทคนิคง่ายๆ แบบการจักสานคือนำเชือกมาผูกกับไม้หรือยึดไว้ให้ด้ายเส้นยืนแล้วนำเลือกอีกเส้นหนึ่งมาพุ่งขัดกับด้ายเส้นยืน เกิดเป็นผืนผ้าหยาบๆ ขึ้น เหมือนการขัดกระดาษหรือการจักสาน เกิดเป็นผ้ากระสอบ แบบหยาบๆ
เราพบหลักฐานที่สำคัญทางโบราณคดีที่บริเวณบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เช่น พบกำไล สำริด ซึ่งมีสนิม และมีเศษผ้าติดอยู่กับคราบสนิม นั้น นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า สนิมเป็นตัวกัด
กร่อนโลหะซึ่งเป็นอนินทรียวัตถุ แต่กลับเป็นตัวอนุรักษ์ผ้าซึ่งเป็นอินทรียวัตถุไว้ไม่ให้เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ที่แหล่งบ้านเชียงนี้ เรายังพบ แวดินเผาซึ่งเป็นอุปกรณ์การปั่นด้ายแบบง่ายๆ และพบลูกกลิ้งแกะลายสำหรับใช้ทำลวดลายบน ผ้าเป็นจำนวนมาก จึงทำให้พอจะสันนิษฐานได้ว่า มนุษย์อาศัยอยู่ในบริเวณบ้านเชียงเมื่อ ๒,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว รู้จักการปั่นอ
อ้างอิงจาก http://www.nmt.or.th/angthong/bangjuk/Lists/OTOP1/AllItems.aspx

สักยันต์ ประวัติความเป็นมา ในการสักยันต์ของไทย
 วัฒนธรรมการสักบนผิวหนัง การสักลวดลายบนผิวหนังหรือที่เรียกว่าสักลายหรือสักยันต์เป็นวัฒธรรมอย่างหนึ่งของไทย ที่มีมาช้านานแต่ทุกวันนี้ลายสักหรือสักยันต์ตามความเชื่ออย่างโบราณแทบจะไม่มีแล้ว จะมีเพื่อความสวยงามเป็นการตกแต่งเสริมความงามให้กับร่างกายบ้างแต่ไม่มากนัก เรื่องราวของลายสักยันต์ หรือ รอยสักยันต์ ของคนไทยเป็นสิ่งที่น่าศึกษาค้นคว้าเรื่องหนึ่ง แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครสนใจใคร่ศึกษามากนัก ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างหนึ่งและนับวันจะสูญหายไป     
        "สัก"  คืออะไร พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ เขียนว่า "สัก  คือ การเอาเหล็กแหลมแทงลงด้วยวิธี การหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน, ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระ เครื่องหมายหรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึกเรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้น้ำมันเรียกว่า สักน้ำมัน (โบ)” ทำเครื่องหมายสักเพื่อแสดงเป็นหลักฐาน เช่น "สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือ มีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็นผู้ต้องโทษปราชิก เป็นต้น" จากคำอธิบายดังกล่าวทำให้รู้ว่า การสักลายหรือลายสักของไทยคืออะไร ประเพณีการสักนั้นมีไม่แพร่หลาย บางหมู่บ้านจะพบว่า ผู้ชายไม่ว่าหนุ่มหรือแก่มักมีลายสักที่หน้าอก และแผ่นหลังตามสมัยนิยม ในขณะที่ผู้ชำนาญในการสักของท้องถิ่นแสดงความสามารถที่สืบทอดมาอย่างเต็มที่ผู้ที่ทำหน้าที่สักมีทั้งพระสงฆ์และคนธรรมดา
        การศึกษาค้นคว้าศิลปะชาวบ้านประเภทนี้ ควรจะได้รับการศึกษาบันทึกเกี่ยวกับการออกแบบกรรมวิธีและพิธีกรรม ศึกษาเปรียบเทียบแต่ละกลุ่มชน ศึกษาค่านิยม และความเปลี่ยนแปลง ศึกษาการสักที่สืบทอดมาแต่โบราณ การสักมีรูปแบบที่แตกต่างกันอยู่ 2 รูปแบบ คือ ลายสักที่สืบทอดกันมาแแต่โบราณ และ ลายสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ แต่ละรูปแบบจะมีวิวัฒนา การตามแบบฉบับของมัน และแสดงให้เห็นรูปแบบของธรรมเนียมในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยในแต่ละแง่แต่ละมุมของลายสักที่สืบทอดกันมาในสังคมไทยในอดีต
        การสักที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ นักประวัติศาสตร์ซึ่งคุ้นเคยกับชีวิตแบบไทย ๆ คงจะทราบความจริงว่าข้าราชการของไทยจะทำตำหนิที่ข้อมือคนในบังคับซึ่งเป็นหน้าที่ของแผนกทะเบียนเป็นผู้บันทึกและรวบรวมสถิติชาย และอาจะเดาได้ว่าการสักเป็นจุดเริ่มต้นของการแบ่งส่วนราชการของไทย หรือการสักเป็นไปตามการแบ่งส่วนราชการ การทำเครื่องหมายลงบนร่างกายนี้อาจมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ( พ.ศ. ๑๙๙๑ - ๒๐๓๑ )
       การสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ วัตถุประสงค์ของการสัก ผู้ชายบางคนจะสักยันต์ด้วยเหตุผลทางเวทมนต์คาถาเพื่อความแข็ง แกร่งของจิตใจและต้องการอยู่ยงคงกระพัน ซึ่งเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประเพณีนิยมในชนบางกลุ่ม การสักลักษณะนี้จะสักให้เฉพาะชายฉกรรจ์เท่านั้น การสักมีลักษณะที่สอดแทรกไว้ด้วยความเชื่อและพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น ก่อนทำการสักจะต้องมีการทำพิธีไหว้ครู ในการสักนั้นก็จะประกอบด้วยการร่ายเวทมนต์โดยอาจารย์สักจะถูผิวหนังของผู้มาสักทั้งก่อน ขณะสักลายหรือสักยันต์ และหลังจากสักเสร็จแล้ว อาจารย์สักแต่ละคนจะมีรูปแบบของลวดลายเป็นของตนเอง และผู้ที่ต้องการจะสักสามารถเลือกลายที่อาจารย์มีอยู่ได้ตามต้องการ ส่วนมากจะเป็นสัตว์ในเทพนิยาย และ เป็นอักขระขอมและเลขยันต์ อาจจะสักลายทั้งสามประเภทผสมกัน ดังนั้นลายสักของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
        การสักยันต์ ในประเทศไทยอาจจะมีมาแต่โบราณ แต่จะมีมาตั้งแต่สมัยใดนั้นไม่มีหลักฐานชัดเจน การสักยันต์เพื่อให้อยู่ยงคงกระพันนั้นเชื่อว่ามีมานานแล้วดังปรากฎในวรรณคดี เรื่องขุนช้างขุนแผน และวรรณกรรมอื่นๆ แต่การสักมักมองว่าเป็นเรื่องของนักเลง จึงถูกมองไปในทางลบ ทำให้ศิลปะบนผิวหนังประเภทนี้เกือบจะสูญหายไปจากสังคมไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น